กิจกรรมการเรียนการสอนรายวิชาอินเตอร์เน็ตในชีวิตประจำวัน

วันจันทร์ที่ 9 สิงหาคม พ.ศ. 2553


รองเท้านารีม่วงสงขลา

ลักษณะ ใบรูปขอบขนานเรียงสลับ ระนาบเดียว ด้านบนของใบมีลายคล้ายหินอ่อน ดอกเดี่ยว กว้าง 5 ซม. สีม่วงแดง ก้านดอกยาวกว่าใบ ใบประดับดอกรูปหอก กลีบเลี้ยงบนรูปรีแกมรูปหอกกลับ ส่วนปลายสีขาวและมีเส้นสีม่วงอมเขียวเรียงขนานกัน กลีบเลี้ยงคู่ข้างเชื่อมกัน มีขนานเล็กกว่ากลีบเลี้ยงบน กลีบดอกรูปแถบ ปลายแหลมสีขาว ที่ขอบด้านบนมีตุ่มนูนขนาดเล็ก กลีบปากเป็นถุงลึกสีม่วง

ออกดอกช่วงเดือน ธันวาคม ถึงมกราคม

แหล่งที่ พบ กระบี่ สงขลา ระนอง และพังงา

รองเท้านารีเหลืองปราจีน

ลักษณะ ทางพฤกษศาสตร์

มีลักษณะเป็นพุ่มต้นกว้างประมาณ 20-25 ซม. สูงประมาณ 10-20 ซม. ใบกว้าง 2.5-3.5 ซม. ยาว 10-20 ซม. ใบด้านบนเป็นลายสีเขียวสลับเขียวอ่อน ใต้ท้องใบมีจุดประสีม่วงเล็กน้อย ดอกกว้างประมาณ 3.5-7 ซม. ก้านช่อดอกค่อนข้างสั้นประมาณ 5-7 ซม. ช่อหนึ่งมี 1-2 ดอก กลีบบนและกลีบในสีเหลืองมีจุดประสีม่วงกระจายทั่วกลีบ

ออกดอกช่วงเดือนมีนาคม – พฤษภาคม


รองเท้านารีฝาหอย


เป็นกล้วยไม้รองเท้านารี อีกชนิดหนึ่งที่น่าสนใจ นำมาปลูกเลี้ยงและผสมพันธุ์ พัฒนาพันธุ์ให้เกิดลูกผสมชนิดใหม่แปลกๆ หรือใครที่ไม่สนใจผสม ก็อาจนำมาปลูกไว้เพื่อเสริมสร้างรากฐานการศึกษาและสั่งสมจิตวิญญาณ ความรักธรรมชาติให้ลึกซึ้ง มากขึ้นในตนเองได้ เป็นชนิดที่ใบมีลายสีเขียวแก่สลับเขียวอ่อนคล้ายคลึงกันกับเหลืองปราจีน แต่ผู้มีประสบการณ์อาจสามารถ รองเท้านารีฝาหอยจำแนกแยกแยะ ออกจากกันได้ไม่อยากนัก เนื่องจากความแตกต่างในรายละเอียดเล็กๆ น้อยๆ โดยไม่ต้องอาศัยตำราบนแผ่น กระดาษ ดอกมีกลีบหนามากรูปลักษณะกลมหากมองจากด้านหน้า มีจุดสีม่วงน้ำตาลคล้ำจุดค่อนข้างใหญ่หากเปรียบเทียบกับ ชนิดอื่นๆ ที่ได้กล่าวมาแล้วก้านดอกอ่อนจนถึงห้อยลงด้านล่าง ไม่สามารถพยุงน้ำหนักดอกได้ฤดูที่มีดอกมากอยู่ในราวเดือน พฤศจิกายนถึงกุมภาพันธุ์ แต่ก็มีประปราย ตั้งแต่ในราวกลางฤดูฝน หรือระหว่างเดือนสิงหาคม เป็นต้นไปแหล่งกำเนิดอยู่บนเขา รองเท้านารีฝาหอยหินปูนใน จังหวัดภาคเหนือของประเทศไทยดังเช่นที่รู้ๆ กันว่า พบในเขตดอยเชียงดาว ในบริเวณซึ่งมีความสูงจากระดับน้ำทะเล ไม่ต่ำกว่า ๗๐๐ เมตร นำลงมาปลูกออกดอกได้ดีในที่ราบของเมืองเชียงใหม่ แต่ในกรุงเทพฯ ออกดอกยาก

ในวงการกล้วยไม้ไทย เมื่อมีการจัดงานแสดง และประกวดกล้วยไม้ และมี่กล้วยไม้รองเท้านารีชนิดนี้ร่วมแสดง เจ้าของ มักใช้ไม้เล็กๆ พยุงก้านดอกให้ตั้งขึ้นเนื่องจากปกติ หรือโดยธรรมชาติ จะห้อยลงแต่เมื่อได้ไปพบเห็นในประเทศอื่นซึ่งมาเอา ไปปลูก เขานิยมปลูกไว้เป็นกอใหญ่ ใช้กระถาง ซึ่งสามารถนำมาแขวนได้แล้วปล่อยให้ดอก ซึ่งมีหลายดอกห้อยลงมาโดยรอบ นับว่าเป็นการใช้ศิลปะ ที่ไม่ฝืนธรรมชาติและทำให้ดูสวยงามได้

รองเท้านารีคางกบคอแดง

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
ใบมีจำนวนมาก เป็นรูปขอบขนานเรียงสลับระนาบเดียว ด้านบนของใบมีลายคล้ายหินอ่อน ดอกเดี่ยว สีแดงอมชมพู ส่วนโคนกลีบสีเขียว ใบประดับดอกรูปหอก ดอกกว้าง 6 ซม. กลีบเลี้ยงบนรูปไข่กลับแกมรูปขอบขนาน กลีบเลี้ยงคู่ข้างเชื่อมกัน กลีบดอกรูปแถบแกมรูปไข่กลับ ปลายกลีบบางครั้งมีแฉกขนาดเล็กสองแฉก กลีบขนานกับพื้น กลีบปากเป็นถุงลึก ขอบกลีบด้านบนเรียบไม่ม้วนเข้า
ออกดอกช่วงเดือน มีนาคมถึง พฤษภาคม
แหล่งที่พบพืชถิ่นเดียวพบเฉพาะในประเทศไทยที่ตราด ระยอง และจันทบุรี

กล้วยไม้ไทยรองเท้านารี



กล้วยไม้รองเท้านารีพันธุ์พื้น เมืองของไทย

กล้วยไม้รองเท้านารีสกุล Paphiopedilum มีชื่อสามัญว่า Venu s’ Slipper มีชื่อไทยว่า รองเท้านารีหรือ
รองเท้าแตะนารี ที่เรียกชื่อดังนี้เนื่องจากดอกมีลักษณะขอบปากงองุ้มเข้าหากันเป็นรูป คล้ายกระเป๋าหรือหัวรองเท้า
แตะของชาวดัทช์ กล้วยไม้รองเท้านารีจัดเป็นพืชที่มีศักยภาพอีกชนิดหนึ่งเนื่องด้วยมีรูปทรง สีสัน ความแปลกตาของ
ดอกและใบจึงทำให้มีผู้สนใจ รัก และปลูกเลี้ยงกันมากขึ้น อีกทั้งเป็นพืชที่มีสนนราคาค่อนข้างสูง จึงได้มีการปลูก
เพื่อการค้ากันอย่างแพร่หลายทั้งในประเทศและต่างประเทศ อย่างไรก็ตามการนำกล้วยไม้รองเท้านารีมา ปลูกเลี้ยง
โดยเฉพาะกล้วยไม้รองเท้านารีพันธุ์แท้นั้นควรได้มาอย่างถูกต้องตามกฎหมายและ หลีกเลี่ยงการลักลอบเก็บมาจาก
ธรรมชาติ เพื่อให้กล้วยไม้รองเท้านารีพันธุ์แท้ของไทยคงอยู่ตลอดไปและไม่สูญพันธุ์ไป จากป่าของไทย
ประเทศไทยได้ชื่อว่าเป็นแหล่งกล้วยไม้เขตร้อนที่สำคัญแห่งหนึ่งของโลก โดยเฉพาะกล้วยไม้รองเท้านารีพันธุ์พื้นเมืองที่มีถิ่นกำเนิดในประเทศไทยมี จำนวน 17 ชนิดล้วนอยู่ในสกุล Paphiopedilum เพียงสกุลเดียวเท่านั้น ซึ่งได้รับความสนใจนำมาปลูกเลี้ยง ปรับปรุงพันธุ์และขยายพันธุ์เพื่อการค้ากันอย่างกว้างขวางทั้งในประเทศและ ต่าง ประเทศ เช่น สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น บางประเทศในยุโรปและเอเชีย ทำให้ประเทศไทยกลายเป็นแหล่งส่งออกกล้วยไม้ รองเท้านารีที่สำคัญแห่งหนึ่งของโลกไม่แพ้ไม้ดอกไม้ประดับประเภทอื่นๆ ทั้งในรูปแบบของไม้กระถางและไม้ตัดดอก
ถิ่นกำเนิดของกล้วยไม้รองเท้านารีสกุล Paphiopedilum กล้วยไม้รองเท้านารีสกุล Paphiopedilum จัดเป็นพันธุ์ไม้ที่มีถิ่นกำเนิดในเขตร้อน โดยเฉพาะแถบเอเชีย ตะวันออกและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ได้แก่ อินเดีย บังคลาเทศ นิวกินี ภาคตะวันออกเฉียงใต้ของจีน หมู่เกาะโซโลมอน อินโดนีเซีย พม่า มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ และไทย
กล้วยไม้รองเท้านารีพันธุ์พื้นเมืองสกุล Paphiopedilum ที่พบว่ามีถิ่นกำเนิดอยู่ในประเทศไทยมี 17 ชนิดได้แก่
1. รองเท้านารีคางกบคอแดง (Paph. appletonianum var. wolterianum.)
2. รองเท้านารีม่วงสงขลา หรือรองเท้านารีคางกบภาคใต้ (Paph. barbatum)
3. รองเท้านารีฝาหอย (Paph. bellatulum.)
4. รองเท้านารีคางกบ หรือรองเท้านารีไทยแลนด์ (Paph. callosum.)
5. รองเท้านารีดอยตุง (Paph. charlesworthii.)
6. รองเท้านารีเหลืองปราจีน หรือรองเท้านารีเหลืองกาญจน์ หรือรองเท้านารีเหลืองอุดร ( Paph. concolor)
7. รองเท้านารีเหลืองกระบี่ (Paph. exul)
8. รองเท้านารีขาวชุมพร (Paph. godefroyae)
9. รองเท้านารีเหลืองตรัง หรือรองเท้านารีเหลืองพังงา (Paph. godefroyae var. leucochilum)
10. รองเท้านารีเหลืองเลย (Paph. hirsutissimum var. esquirolei)
11. รองเท้านารีอินซิกเน่ (Paph. insigne)
12. รองเท้านารีขาวสตูล (Paph. niveum)
13. รองเท้านารีเมืองกาญจน ์หรือรองเท้านารีเชียงดาว (Paph. parishii)
14. รองเท้านารีปีกแมลงปอ หรือรองเท้านารีสุขะกูล ( Paph. sukhakulii)
15. รองเท้านารีอินทนนท์ (Paph. villosum)
16. รองเท้านารีช่องอ่างทอง ( Paph. X Ang Thong)
17. รองเท้านารีเกาะช้าง ( Paph. X Siamensis)